BY : siepteam | www.sirindhornpark.or.th | 032-508352 |

07 มกราคม 2553

| issue 19 (Social Enterprise)


"Social Enterprise" มิติใหม่ธุรกิจเพื่อสังคม
ความเคลื่อนไหวเล็กๆ ในแวดวงสังคมธุรกิจไทย ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ราววงน้ำกระเพื่อมตั้งแต่ปีที่แล้ว นั่นคือความเคลื่อนไหวในแวดวง"ธุรกิจเพื่อสังคม" หรือ Social Business ที่กำลังก้าวไปอีกขั้น ในโลกยุค New Age Capitalism กลุ่มทุนที่ประสบความสำเร็จจะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืนที่เกื้อกูลต่อโลกและสังคม
ffff
วันนี้ โลกธุรกิจเปลี่ยนไปสู่แนวคิด Triple Bottom Line หรือ ESG (Environment Social and Governance) คงเป็นไปไม่ได้ที่ภาคธุรกิจจะเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจ (Good Corporate) มาเป็นงานกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) ที่มีเป้าหมายแก้ปัญหาสังคมโดยใช้โมเดลธุรกิจเป็นตัวตั้ง แต่ภาคธุรกิจสามารถปรับตัวเองให้เป็น Social Business หรือทำธุรกิจเพื่อสังคมได้ ผ่านการสร้างระบบตลาด สร้างมาตรฐานการผลิต ห่วงโซ่การผลิต ที่ตระหนักหรือเอื้อต่อโลกและผู้คน
gggg
อภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในฐานะรองประธานกรรมการ คณะกรรมการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคม กล่าวถึงความเป็นมาของกิจการเพื่อสังคมว่า ในระยะแรกธุรกิจจะเน้นการแสวงหากำไรสูงสุด เป็นหลักมีบางธุรกิจที่ CSR แต่ในระยะหลังได้มีองค์กรที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และความยั่งยืน หรือที่เรียกว่า กิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) ซึ่งเป็นวิวัฒนาการของความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) โดยตรง "ผมเห็นว่าประเทศไทยควรดำเนินการเรื่องนี้ด้วย เพราะจะเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส โดยไม่เน้นการสร้างเศรษฐกิจให้เติบโตเพียงอย่างเดียว แต่สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน และสร้างความสุขให้แก่ประเทศไทย ซึ่งขณะนี้ภาครัฐได้มีการสนับสนุนเรื่องดังกล่าว"
ffff
การจัดตั้งคณะกรรมการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เป็นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงระดับนโยบายของประเทศ โดยเป้าหมายหลักของคณะกรรมการชุดดังกล่าว ประกอบด้วย การส่งเสริมการสร้างการรับรู้และการเรียนรู้เกี่ยวกับกิจการเพื่อสังคม การส่งเสริมการพัฒนาขีดความสามารถของกิจการเพื่อสังคม เช่น มาตรการทางภาษี และกฎหมาย และการสร้างการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของกิจการเพื่อสังคม โดยภาพการขับเคลื่อนที่เป็นรูปธรรมในเชิงนโยบายภาครัฐน่าจะได้เห็นกันชัดๆ ในปี 2553
hhhh
ในขณะที่การขับเคลื่อนภาคประชาชนมีการขยายผลต่อเนื่อง เริ่มจากช่วงต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา 6 องค์กรระดับประเทศ ประกอบด้วย คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เครือข่าย TYPN บริติช เคานซิล หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ สถาบันเชนจ์ ฟิวชัน ภายใต้มูลนิธิบูรณะชนบทในพระบรมราชูปถัมภ์ และสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกันสร้างสรรค์ โครงการประกวดแผนธุรกิจกิจการเพื่อสังคม หรือ SEBP-Social Enterprise Business Plan Competition ขึ้น โดยจับกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าประกวดเป็นนิสิตนักศึกษาและคนรุ่นใหม่ที่มุ่งมั่นจะเป็นผู้ประกอบการสังคม
ffff
ชัยยุทธ์ ชำนาญเลิศกิจ กรรมการผู้อำนวยการ สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า กิจการเพื่อสังคมเป็นนวัตกรรมทางสังคมรูปแบบใหม่ ที่อาศัยทักษะทางธุรกิจผนวกเข้ากับเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาองค์รวมของสังคมอย่างยั่งยืน การสร้างการตระหนักรู้แนวคิดดีๆ แบบนี้ จะเป็นแรงผลักดันสร้างความเข้มแข็งของรากฐานทางสังคม สร้างภูมิคุ้มกันต่อการเผชิญการเปลี่ยนแปลงในวิกฤติสภาวะเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน
gggg
วีนัส อัศวสิทธิถาวร ผู้อำนวยการสำนักงานสื่อสารองค์กร SCG มาพร้อมกับสองรองประธานซีเอสอาร์ คลับ ได้แก่ พีรพงษ์ กลิ่นละออ ผู้อำนวยการสำนักงานสำนึกรักบ้านเกิด บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จํากัด (มหาชน) และดร.กันทิมา กุญชร ณ อยุธยา ผู้อํานวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท ทรู วิชั่นส์ จํากัด (มหาชน) ต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า งานกิจการเพื่อสังคมเป็นเรื่องของความเปลี่ยนแปลง หรือ Change ทำได้ไม่ง่ายนัก เหมาะมากที่เริ่มรณรงค์กับคนรุ่นใหม่ เพราะเป็นวัยที่มีความฝัน มีไฟ และยังไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขทางธุรกิจ แต่องค์ประกอบที่จะทำให้งานสำเร็จคือการสื่อสาร โดยเฉพาะการสื่อสารกับทำความเข้าใจกับชุมชนในช่วงแรกๆ ของการเริ่มต้นกิจการ
gggg
ไฮไลท์ของงานวันนั้นเป็นช่วงโชว์เคส "SE" ต้นแบบ โดย Social Entrepreneur ตัวจริง เสียงจริง ได้แก่ นาวี นาควัชระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เครือข่ายนวัตกรรมชาวบ้าน จำกัด ซึ่งทำเกษตรปราณีต ยุทธนา ไสยไทย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซูพรีม รีนิวเอเบิล เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด โรงไฟฟ้าชีวมวล พิมพรรณ ดิศกุล ณ อยุธยา ผู้จัดการส่วนศูนย์พัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ โครงการพัฒนาดอยตุง มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง และรัตติกร วุฒิกร กรรมการผู้จัดการ บริษัท คลับ ครีเอทีฟ จำกัด ผู้ออกแบบของเล่นเด็กพิการ
gggg
ถัดมา เป็นงาน Sustainable Solutions Inspired by Social Enterprise จัดโดยสถาบันเชนจ์ ฟิวชัน โรงแรมบันยันทรีและศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาแผ่นดินเชิงคุณธรรม วิทยากรวันนั้นประกอบด้วย คันธนิธิ์ สุคนธทรัพย์ รองประธานซีเอสอาร์คลับ ดร.มัชฌิมา กุญชร ณ อยุธยา ที่ปรึกษาสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม ขึ้นเวทีพร้อมกับผู้ประกอบการสังคม ได้แก่ เทพรัตน์ ตันติกัลยาภรณ์ บริษัท ชิวาลรี่บิช จำกัด ผู้ผลิตผ้าไหมส่งออก สุธาทิพย์ แสงวัฒนกุล บริษัท อุดมชัยฟาร์ม จำกัด ต้นตำนานไข่ไก่อารมณ์ดี และนาวี นาควัชระ ต้นตำรับเมนูนวัตกรรมแก้จนด้วยเกษตรปราณีต
kkkk
วรรคทองของงานเสวนา มาจากคนสองรุ่น โดยรุ่นใหญ่อย่าง ดร.มัชฌิมา เชื่อว่า กิจการเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise นั้นมีคุณลักษณะสอดคล้องกับสังคมที่มีความเจริญอย่างประเสริฐ หรือสังคมอารยวัฒิตามความหมายที่ปรากฏในพจนานุกรม ท่านป.อ.ปยุต ปยุตโต (For the Noble Growth Society By the Noble Growth Principle Of the Noble Peolple) จึงถือเป็น "ธุรกิจแห่งสังคมอารยวัฒิ"
kkkk
ส่วนรุ่นใหม่ นาวีทิ้งหมัดไว้ว่า ธุรกิจไม่ใช่สิ่งที่ผิด หากปฏิบัติต่อกันอย่างเป็นธรรม ไม่เอารัดเอาเปรียบ หรือผูกขาด แต่ธุรกิจเพื่อสังคมควรที่จะก่อให้เกิดเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า คือ ร่ำรวยได้บนพื้นฐานที่เข้มแข็ง มีอิสระในการอยู่ได้ อยู่ดีอย่างมีความสุขในสังคมท้องถิ่นของตนเอง ปัญหาสังคมในปัจจุบันไม่ใช่เวรกรรม หรือสิ่งถ่ายทอดทางพันธุกรรม แต่เป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนไปสู่สังคมที่ยั่งยืนและเป็นธรรม.
hhhh
การเปลี่ยนแปลงไปสู่ Social Enterprise วันนี้จึงกลายเป็นก้าวที่น่าจับตามองอย่างยิ่งในแวดวงธุรกิจยุคใหม่พวดเราชาว 'siepclub' ล่ะคิดไง....สวัสดี
jjj
ขอบคุณข้อมูลจากกรุงเทพธุรกิจ
siepclub thanks
lll

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น