BY : siepteam | www.sirindhornpark.or.th | 032-508352 |

07 มกราคม 2553

| issue 18 (ออร์แกนิกชาไทย)


ชาไทยสไตล์ออร์แกนิก
โดย : จุฑารัตน์ ทิพย์นำภา

ต่อให้ราคาข้าวพุ่งกระฉูดแค่ไหน แต่เชื่อไหมว่า ชาวบ้านทางภาคเหนือจำนวนหนึ่ง กลับหันมายืดอาชีพทำไร่ชาบนดอยสูงแทนการปลูกพืชเมืองหนาว สร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวอิ่มหนำสำราญอย่างยั่งยืน
hhh
เนิ่นนานมาแล้ว ชาวเหนือปักหลักอยู่บนยอดดอยทำไร่ชา เพราะเชื่อว่าเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกชามากที่สุด
สุวิรุฬห์ ชาไทย คิดในทางตรงกันข้าม แล้วลองหันมาปลูกชาในพื้นที่ราบเชิงเขา จนกระทั่งสำเร็จเป็นรายแรกของเมืองไทย ซึ่งนอกจากปลูกได้บนที่ราบสูงแล้ว ยังเป็นชาออร์แกนิกที่กระบวนการปลูกชาเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย
จารุวรรณ์ กาวี ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ห้างหุ้นส่วนจำกัด
สุวิรุฬห์ ชาไทย เล่าให้ฟังท่ามกลางลมหนาวว่า พูดถึงไร่ชา คนส่วนใหญ่มักนึกภาพไร่บนยอดดอยสูง แต่คุณพ่อของเธอมองต่างมุม ว่าการปลูกชาไม่จำเป็นต้องปลูกบนดอย เพราะชาวไต้หวันยังปลูกชาบนพื้นที่ราบ หรือแม้แต่ข้างถนนก็ยังมีให้เห็น
hhhh
“เราเริ่มต้นศึกษา เก็บข้อมูลการปลูกชาในไต้หวัน เปรียบเทียบกับพื้นที่ที่เรามี ทั้งระดับน้ำทะเล ลักษณะดิน สภาพอากาศ ปริมาณน้ำฝน ซึ่งไม่แตกต่างกัน กระทั่งตัดสินใจทดลองปลูกในพื้นที่จริง โดยปรับพื้นที่แปลงปลูกมะม่วงเดิม ซึ่งเก็บเกี่ยวได้ปีละครั้ง หันมาปลูกชาทดแทน” ลูกสาวชาวไร่ชาพื้นราบบอก เธอยอมรับว่า ช่วงเริ่มต้นนั้นการปลูกชาบนที่ราบไม่ใช่เรื่องง่าย ด้วยความที่ชาไม่ใช่พืชเศรษฐกิจของไทย ช่วงแรกถือเป็นการลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง เพราะยากจะขอความช่วยเหลือจากคนอื่น
hhh
แผนปลูกชาของครอบครัวกาวีไม่ได้เริ่มต้นจากศูนย์ พกวเขามีความรู้จากการปลูกชาบนดอยเป็นทุนเดิม แล้วนำมาปรับปรุงทดลองปลูกมาเรื่อยๆ ผ่านไป 4 ปีจึงเริ่มเห็นผล และกล้ายืนยันได้ว่าชาปลูกในพื้นที่ราบสูงได้ แถมยังให้ผลผลิตดีไม่แพ้ชาที่ปลูกจากยอดดอย
kkk
สุวิรุฬห์ ชาไทย ยังเป็นเจ้าแรกที่เริ่มปลูกชาออร์แกนิก และค่อนข้างมีประสบการณ์จากการทำชาออร์แกนิกมานาน จนกลายเป็น 'ไร่ชาต้นแบบ' ของจังหวัดเชียงราย “เราต้องยอมรับว่า โลกมันหมุน อนาคตยังไงก็ออร์แกนิก ถ้าเริ่มก่อนคนอื่น ก็ย่อมดีกว่า คุณพ่อเป็นคนชอบลองอยู่แล้ว จึงเริ่มต้นทำไร่ชาออร์แกนิกตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา” เธอกล่าว โชคดีที่พื้นที่เดิมปลูกพืชโดยไม่ใช้สารเคมีอยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องเตรียมพื้นที่มาก โดยเริ่มปลูกชาอู่หลงออร์แกนิกเป็นชนิดแรกตั้งแต่ปี 2531 พื้นราบ 5-10 ไร่ จากนั้นจึงค่อยขยายเป็น 200 ไร่ กำลังการผลิต 1,500-2,000 ตันต่อปีอย่างในปัจจุบัน
kkk
บริษัทสุวิรุฬห์ ชาไทย ปลูกชาอู่หลงด้วยกรรมวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากว่า 20 ปีแล้ว บำรุงเลี้ยงต้นชาด้วยปุ๋ยชีวภาพที่ผลิตเอง น้ำมาจากบ่อน้ำบาดาลที่ไม่ผ่านฟาร์มที่เป็นเคมี และตรวจสอบการปนเปื้อนทุกปี
อย่างไรก็ตามการทำชาออร์แกนิกไม่ใช่เรื่องง่าย เธอยอมรับ และต้องใช้เงินลงทุนสูง แค่ใช้ปุ๋ยชีวภาพก็ยากแล้ว เพราะสมุนไพรฆ่าแมลงไม่ได้มีแหล่งผลิตแน่นอน โดยทั่วไปใช้สารเคมีพ่นทุก 20 วัน ถ้าเป็นออร์แกนิก ต้องใช้คนดูแลทุกอาทิตย์ ต้นทุนเพิ่มขึ้นกว่าไร่ชาทั่วไปถึง 3 เท่า
sss
อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญมาก คือหากตัดสินใจทำชาออร์แกนิกแล้วจะไม่สามารถหันไปปลูกพืชหมุนเวียนชนิดอื่นได้เลย เพื่อให้พื้นที่มีความบริสุทธิ์ ปราศจากเคมีอย่างแท้จริง ประเด็นนี้ทำให้ชาวบ้านรอบข้างแม้จะเห็นผลสำเร็จยืนยันว่าการปลูกชาพื้นราบสามารถทำได้ แต่ส่วนใหญ่ยังไม่กล้าหันมาปลูก เพราะมองว่ามันไม่ใช่ความรู้ที่สอนกันมาแต่บรรพบุรุษ และต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตกันพอสมควร
ssss
ยิ่งต้นทุนที่ทุ่มลงไปมากกว่า แต่ไม่ได้การันตีว่าผลผลิตจะมากตามไปด้วย “เหตุผลเรายังคงปลูกชาออร์แกนิก แม้ว่าต้นทุนสูง เพราะเราไม่ได้ปลูกชาเพื่อทำเป็นธุรกิจ เราปลูกชาเพราะเราชอบที่จะดื่มชา ลูกหลานเราดื่ม ครอบครัวเราดื่ม แล้วเราจะหยิบยื่นเคมีให้พวกเขาดื่มหรือ” เธอให้มุมมอง เธอบอกว่า ตลาดชาทั่วโลกค่อนข้างใหญ่ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมชาชงบรรจุขวด ซึ่งต้องการวัตถุดิบค่อนข้างมาก รวมถึงร้านกาแฟ ที่ต้องการชาผงไปผสมในเครื่องดื่ม ไม่ว่าจะเป็นกรีนลาเต้ ชาเขียวปั่น ชาเขียวใส่นมที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบัน
ssss
“คุณพ่อเป็นคนที่มีความคิดก้าวหน้า คิดออกแบบโรงงานเอง หยิบนิดหยิบหน่อย ครั้งหนึ่งมีโอกาสไปสัมมนากับบริษัทญี่ปุ่น พูดกันถึงชาผง ขายได้กี่โลละ 4 หมื่นบาท ฟังกระบวนการสั้นๆ ก็หยิบเอามาต่อยอดเอง จนผลิตชาเขียวผง ขายสร้างรายได้เพิ่มอีกทางหนึ่ง”
ffff
ชาเป็นเครื่องดื่มที่มีอายุยาวนานกว่า 2,000 ปี แล้วยังเป็นที่นิยมไม่จืดจาง น่าประหลาดคนรุ่นใหม่กลับหันมาดื่มชามากขึ้น อย่างที่รู้กันว่าชามีประโยชน์ตั้งแต่ดื่มเข้าไปในปาก ลงไปในคอทำให้รู้สึกชุ่มคอ ไปที่เส้นเลือด ช่วยลดคอเรสเตอรอลในเลือด ลงไปที่กระเพาะ มีสารแอนติออกซิเดน ซึมสู่ลำไส้ ออกผิวหนัง ช่วยบำรุงผิว ถ้าเราเคี้ยวใบชายังได้โฟลิฟินอลดูแลสุขภาพฟันด้วย
ggg
“สมัยก่อนคนดื่มชาต้องเป็นอากง อาม๋า เป็นคนจีน แต่เดี๋ยวนี้ไม่ใช้แล้ว เด็กวัยรุ่นหันมาดื่มชา มีงานวิจัยพูดถึงประโยชน์ของชามากขึ้น ชากลายเป็น 'ตลาดเฉพาะ' ในหลายประเทศ แม้จะมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับกาแฟ ที่เดินไปทุกซอกทุกมุมก็เจอ แต่ก็เริ่มเห็นเยอะขึ้น”
ffff
สำหรับประเทศไทยมีไทยแลนด์ออร์แกนิก และกรมวิชาการเกษตร เป็นหน่วยงานตรวจรับรองและให้ตรารับรองสินค้าออร์แกนิก แม้กลุ่มผู้บริโภคชาหลักยังอยู่ที่ไต้หวัน ซึ่งไม่ได้สนใจเรื่องออร์แกนิกมากนัก แต่ก็เริ่มมีลูกค้าปลีกในกลุ่มยุโรป อเมริกา ที่ถามหาสินค้าออร์แกนิกเพิ่มขึ้น หลังจากบุกเบิกกรุยทางเป็นตัวอย่าง เริ่มมีชาวไร่สนใจปลูกชาบนพื้นที่ราบมากขึ้น
สุวิรุฬห์ ชาไทย ในฐานะไร่ชาต้นแบบ ยืนยันว่าพร้อมถ่ายทอดเทคนิค ปลูกชาออร์แกนิกหรือชาอินทรีย์ให้แบบไม่ปิดบัง
kkk
ขอบคุณข้อมูลจากกรุเทพธุรกิจ
siepclub thanks
ggg

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น