BY : siepteam | www.sirindhornpark.or.th | 032-508352 |

11 มกราคม 2553

| issue 21 (สวนแนวตั้งยั้งสารพิษ)



สวนแนวตั้ง
โดย : วลัญช์ สุภากร

การเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับบ้าน และที่อยู่อาศัยประเภทอื่นๆ ซึ่งมีพื้นที่จำกัด ไม่ใช่สิ่งที่ยากเกินจินตนาการ ของนักคิดกลุ่มนี้ซึ่งนำผลงาน-->
gg
การออกแบบ สวนแนวตั้ง (Vertical Garden) ในพื้นที่จำกัดไปจัดแสดงเพื่อประกวดในงาน 'บ้านและสวนแฟร์ 2009' เช่นตัวอย่างสวนซึ่งได้รับการตั้งชื่อว่า Local Rotate สวนที่มีสไตล์ขนาด 6-8 ตารางเมตรรูปแบบนี้สร้างขึ้นตามแนวคิดที่เล่าถึงความต้องการของชีวิตคนเมืองที่เติบโตมาจากต่างจังหวัด กลางทุ่งนา เมื่อมาอยู่ในเมืองก็ยังคงต้องการพื้นที่ที่คล้ายคลึงกับสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า ‘บ้าน’ นั่นคือมีความพอเพียง มีความอบอุ่น ปลอดภัยและเป็นกันเอง
ggg
แต่ด้วยความที่พื้นที่ในเมืองหลวงมีน้อย ต่างจากบ้านเกิด จึงต้องประยุกต์พื้นที่สวนที่คุ้นเคยนั้นให้เหมาะกับพื้นที่ในเมือง โดยการขยายมิติการรับรู้จากพื้นที่ราบไปสู่ แนวตั้ง มีการนำสิ่งของเครื่องใช้ที่เคยเห็นบ่อยในวัยเด็ก องค์ประกอบของการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงที่บ้านเกิด มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับสวนแนวตั้งแห่งนี้
ggg
การใช้ชีวิตอย่างพอเพียงที่บ้านเกิดรูปแบบหนึ่งคือ มีการปลูกผักกินเองที่หลังบ้าน กลายเป็นแรงบันดาลใจในการใช้พืชผักสวนครัวทำเป็นสวนแนวตั้ง จากที่เคยปลูกผักเป็นแปลงยาวๆ ไปตามพื้นดิน ก็ยกแปลงผักขึ้นในแนวตั้ง นอกจากให้ความรู้สึกที่คล้ายกับบ้านในต่างจังหวัด ยังสามารถนำผักไปรับประทานได้ด้วย
ggg
นอกจากปลูกผักสวนครัวแล้ว ภาชนะที่ใช้ปลูกผักยังทำให้สวนแห่งนี้สวยงามแปลกตาด้วยการใช้ ชะลอมไม้ไผ่สาน ซึ่งทำให้เกิดลวดลายและเส้นสายราวกับงานหัตถกรรมซึ่งประดับอยู่บนผนัง คุณ ญาดา อัยศิริ นิสิตคณะภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งออกแบบสวนแห่งนี้ร่วมกับเพื่อนอีกสามคน ให้สัมภาษณ์ว่า ประเทศไทยมีเครื่องจักสานที่งดงาม มีรูปแบบเฉพาะตัวที่ประเทศอื่นไม่มี แต่ปัจจุบันไม่ค่อยได้นำมาใช้ประโยชน์ เกรงว่าจะหายากขึ้นเรื่อยๆ หรือสูญหายไป จึงอยากเสนอแนวคิดให้ร่วมกันอนุรักษ์ โดยการนำมาใช้ประโยชน์แทนกระถางต้นไม้ แทนที่จะใช้ถุงดำหรือเมื่อซื้อต้นไม้ขนาดเล็กมาแล้ว ให้ถอดถุงดำออก แล้วปลูกต้นไม้หรือผักสวนครัวในถุงกระสอบแทนถุงดำ เพื่อให้น้ำซึมออกได้ แล้วนำถุงกระสอบไปใส่ไว้ในชะลอมไม้ไผ่อีกที จริงอยู่ชะลอมไม้ไผ่มีอายุการใช้งานจำกัด เมื่อเปื่อยยุ่ยย่อยสลายไปตามธรรมชาติก็ไม่สร้างมลภาวะ ขณะเดียวกันการซื้อชะลอมไม้ไผ่ทดแทนก็ช่วยให้งานหัตถกรรมลักษณะนี้คงอยู่ต่อไปเพราะมีตลาดต้องการ
ผักสวนครัวที่ในสวนลักษณะนี้ปลูกได้ตั้งแต่ สะระแหน่ โหระพา กะเพรา ตะไคร้ ฯลฯ แซมด้วยผักสวยๆ อย่างปูเล่และหนวดปลาดุก แม้ต้นไม้ที่ปลูกจะเป็นพืชผักสวนครัว แต่สวนครัวนี้ก็ดูร่วมสมัยไม่น้อย เนื่องจากการจัดวางที่เล่นลายเรขาคณิตและมีจังหวะช่องไฟ
ggg
พื้นที่ที่เลือกทำสวนลักษณะนี้ คุณญาดาแนะนำให้ลองพิจารณาพื้นที่ข้างรั้วที่ไม่มีการใช้งานก็ได้ โดยตกแต่งให้คล้ายคลึงกับชานบ้านไทย มีความอเนกประสงค์ สามารถใช้นั่งรับประทานอาหาร เป็นพื้นที่รวมสมาชิกในบ้าน เป็นการนำพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้งานแปรเป็นพื้นที่ที่อบอุ่นของบ้านได้ทางหนึ่ง
ggg
สวนอีกลักษณะหนึ่งที่มีความน่าสนใจในตัวเองคือ สวน Green for Health สวนบนพื้นที่เล็กๆ แห่งนี้ออกแบบขึ้นเพื่อช่วยให้เจ้าของสวนห่างไกลจากพิษภัยของ สารพิษที่อยู่ในบ้าน โดยเจ้าของบ้านหรือผู้ทำงานในอาคารสำนักงานอาจคิดไม่ถึงเนื่องจากมองไม่เห็น
jjj
การใช้ชีวิตปัจจุบันต้องอาศัยเครื่องอุปโภคบริโภคมากมาย ซึ่งทำจากวัสดุต่างๆ ที่หลากหลาย เช่น พลาสติก วัสดุเคลือบผิวของใช้ต่างๆ ประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง แม้แต่วัสดุก่อสร้างอย่างไม้ ฉนวนกันกระแสไฟฟ้า พรม สิ่งทอ ฯลฯ สิ่งของต่างๆ เหล่านี้คือส่วนหนึ่งของที่มาของสารพิษในอากาศในรูปแบบของ 'ไอ' และ 'ละออง' ภายในอาคารบ้านเรือนพบสารที่เหมือนผู้ร้ายจำนวน 3 ตัว คือ ฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldyhyde) ไตรคลอโรเอทธิลีน (TCE) และ เบนซิน มากที่สุด
jjj
ฟอร์มัลดีไฮด์: ใช้อย่างกว้างขวางกับวัสดุก่อสร้างและสิ่งตกแต่งภายใน วัสดุที่เป็นแหล่งที่มาของฟอร์มัลดีไฮด์ที่สำคัญได้แก่ ไม้อัดและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้อัด โฟมที่ใช้ทำฉนวนกันความร้อน ผลิตภัณฑ์กระดาษไฟเบอร์กลาส ผ้าม่านและพรมปูพื้น รวมทั้งใช้เป็นส่วนผสมของสารเคลือบผิวเฟอร์นิเจอร์ โต๊ะตู้ต่างๆ และพื้นผนังที่ทำด้วยไม้ สารตัวนี้มีผลก่อให้เกิดอาการตั้งแต่ ระคายเคืองต่อผิวหนังและตา ปวดศีรษะ ไปจนถึงที่ร้ายที่สุดคือ โรคหอบหืด
ggg
ไตรคลอโรเอทธิลีน: พบในตัวทำละลายเป็นส่วนมาก เช่น การซักแห้ง หมึกพิมพ์ สีทา แล็กเกอร์ น้ำมันซักแห้ง กาวสังเคราะห์ต่างๆ สารตัวนี้ก่อให้เกิดการระคายเคือง ในปี พ.ศ.2518 สถาบันมะเร็งแห่งชาติของอเมริกา รายงานว่าหนูที่ได้รับ TCE เป็นจำนวนมาก มีอาการมะเร็งตับสูงมาก และต่อมาได้จัดอันดับว่า TCE เป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งตับ
ggg
เบนซิน: นอกจากพบในน้ำมันรถยนต์ ยังพบในวัสดุสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย เช่น หมึก สีทาพลาสติก ยาง เบนซินเป็นสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังและดวงตา หากมีการสูดดมในปริมาณมากในทันทีจะมีอาการคลื่นไส้ ปวดศีรษะ อาเจียน ตัวสั่น เกิดโรคทางเดินหายใจ เป็นสารที่ก่อให้เกิดลูคีเมีย ต่อมาพบว่าสารตัวนี้ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของโครโมโซมของมนุษย์
ggg
เมื่อเราต้องใช้ชีวิตร่วมกับสิ่งของที่เสี่ยงต่อ 'ไอและละออง' ของสารพิษข้างต้น วิธีบำบัดหรือลดอันตรายจากสารพิษในบ้านในและที่ทำงานที่ดีวิธีหนึ่งคือ การปลูกต้นไม้ มีต้นไม้หลายชนิดที่ช่วยดูดซับสารพิษในอากาศ เช่น
1. พลูด่าง สามารถขจัดสารฟอร์มัลดีไฮด์และคาร์บอนมอนอกไซด์ได้ดี
2. เดหลี ใบเขียวเข้มเป็นเงาวาว ดอกสีขาว (หรือขาวแกมเหลือง) คล้ายดอกหน้าวัว เป็นไม้ที่คายความชื้นสูงและมีความสามารถในการดูดสารพิษจำพวกฟอร์มัลดีไฮด์และไตรคลอโรเอทธิลีนได้ดี
3. กวักมรกต ไม้ใบสวย ช่วงแตกใบอ่อนม้วนซ้อนกันเหมือนกลีบดอกไม้ มีคุณสมบัติในการฟอกอากาศได้ดี ช่วยเพิ่มออกซิเจน
4. เยอบีร่า ไม้พุ่มลำต้นอยู่ใต้ดิน ให้ดอกสีสันสวยสดใส ใบสีเขียวสดแตกเป็นแฉก ดูดสารพิษจำพวกไตรคลอโรเอทธิลีนและสารเบนซินได้ดี
5. ตีนตุ๊กแกฝรั่ง ไม้เลื้อยที่นิยมปลูกให้ทอดคลุมกำแพง มีประสิทธิภาพสูงในการดูดสารพิษจำพวกเบนซินและมีคุณสมบัติฟอกอากาศได้ดี สิงคโปร์นิยมใช้ปลูกคลุมเสาคอนกรีตรับสะพาน
6. บอสตันเฟิร์น ช่วยทำความสะอาดอากาศภายในอาคารได้ดีชนิดหนึ่ง ดูดสารพิษได้มากโดยเฉพาะพวกฟอร์มาลดีไฮด์ที่มาจากกาวและฝ้าเพดานสำเร็จรูป แต่เป็นไม้ที่ต้องการความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ จึงต้องหมั่นรดน้ำหรือฉีดพ่นด้วยละอองน้ำ
7. ลิ้นมังกร ขจัดสารเบนซินได้ดีและมีประโยชน์ในการช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในอาคาร หลายคนเรียกไม้ชนิดนี้ว่า 'หอกพระอินทร์' จึงนิยมปลูกไว้ประจำบ้าน เชื่อว่าช่วยป้องกันอันตรายจากภายนอกได้ตามชื่อที่หมายถึงอาวุธชนิดหนึ่งของพระอินทร์
8. เศรษฐีเรือนใน ไม้ประดับที่ดีชนิดหนึ่งในการดูดสารพิเศษในอาคาร การทดลองของ Wolverton ได้ผลว่าดูดคาร์บอนมอนอกไซด์ได้ 96% และฟอร์มาลดีไฮด์ 86% เป็นไม้ประดับชนิดแรกๆ ที่ได้รับการเผยแพร่จากองค์การนาซ่าของสหรัฐอเมริกา ว่ามีคุณสมบัติในการดูดสารพิษภายในอาคารได้เป็นอย่างดี
การสร้าง สวน Green for Health ที่ช่วยขจัดสารพิษและฟอกอากาศที่สะอาดให้เรา ภายในอาคารซึ่งมีพื้นที่จำกัด
ggg
ผู้จัดสวนออกแบบเป็นสวนแนวตั้ง ส่วนมากใช้ 'วัสดุอุปกรณ์เหลือใช้' เป็นส่วนประกอบ เช่น กระบะไข่ที่ใช้แล้ว (หรือชำรุด) นำมาเป็นภาชนะสำหรับปลูกต้นไม้ และใช้ ใยมะพร้าว ที่เหลือจากการปอกมะพร้าว รวมกับ แกลบ ที่เหลือจากการสีข้าวและผสมกับ ขี้เถ้าแกลบ เป็นวัตถุดิบในการปลูก
fff
การให้น้ำ ใช้หลักการเก็บน้ำกักน้ำไว้บริเวณกระบะปลูกพลูด่างด้านบน เป็นน้ำที่มาจากน้ำทิ้งเครื่องปรับอากาศในส่วนห้องนอนด้านบน ถ้าน้ำมีปริมาณมากก็จะล้นกระบะด้านบนไหลลงมายังกระบะด้านล่าง รวมถึงไหลไปยังท่อไม้ไผ่ที่มีการเจาะรูสำหรับให้น้ำต้นไม้ชนิดอื่นๆ ในส่วนน้ำที่ไหลลงสู่ด้านล่างจะมีกระบะขนาดใหญ่ใช้รับน้ำและมีปั๊มน้ำขนาดเล็กสำหรับดูดน้ำกลับไปยังกระบะพลูด่างด้านบนในบางเวลาที่ไม่ได้ใช้เครื่องปรับอากาศ และกระบะรับน้ำด้านล่างนี้ยังเตรียมช่องน้ำล้นเข้าสู่ระบบน้ำทิ้งของบ้านในกรณีน้ำมีปริมาณมากเกินไป สวน Green for Health นี้ร่วมกันออกแบบโดยธีรพงษ์ ชำนิ, รุ่งรดิศ พวงแก้ว, ศิริพงศ์ ทรัพยาคม, ชูเกียรติ แซ่ลิ้ม สามารถนำไปติดตั้งบริเวณส่วนระเบียงพักผ่อน ส่วนรับแขกที่ไม่ปรับอากาศ หรือชานบ้านของคนทั้งครอบครัว มีคุณค่ามากกว่าความสวยงาม
การปรับพื้นที่แนวตั้งมาทำเป็นสวน เป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ช่วยลดอุณหภูมิความร้อน และฟอกอากาศในบริเวณนั้นได้เป็นอย่างดี
kkk
ขอบคุณข้อมูลจากกรุงเทพธรถกิจ
siepteam thanks
kkk

08 มกราคม 2553

| issue 20 (ศิลปิน อยาก กู้โลกร้อน)




เปิดตัวศิลปะจากศิลปิน (อยาก) กู้โลกร้อน
จากผลงานนิทานส่งเสริมการเรียนรู้ภาวะโลกร้อนสำหรับเด็กเรื่อง “ช้างน้อยกู้โลกร้อน” ของ วิจิตร อภิชาติเกรียงไกร ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับลูกช้างที่ได้รับหน้าที่ให้เดินทางออกจากโขลงไปกอบกู้ภาวะโลกร้อนโดยมีใบโพธิ์ศักดิ์สิทธิ์คอยช่วยเหลือ
hhh
ระหว่างทางลูกช้างต้องพบเจอกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับโลกในอนาคต ตั้งแต่แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด น้ำท่วม พายุหมุน น้ำทะเลร้อน และน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ทั้งนี้เป็นปัญหาที่เกิดจากภาวะโลกร้อนทั้งสิ้น
gggg
ดังนั้น เพื่อต่อยอดความสำคัญของนินทานเรื่องดังกล่าว ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ร่วมกับบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) จึงได้จัดสร้างประติมากรรมงานปั้นหล่อสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่ “ช้างกู้โลกร้อน” อันประกอบไปด้วยช้างพ่อแม่ลูก ที่สร้างโดยศิลปินเจ้าของนิทานช้างน้อยกู้โลกร้อน โดยใช้เวลาปั้นและหล่อสัมฤทธิ์นานกว่า 5 เดือน
hhhh
ฐาปน ศิริวัฒนภักดี กรรมการผู้จัดการใหญ่ไทยเบฟเวอเรจ กล่าวถึงแรงบันดาลใจในการจัดสร้างประติมากรรมชิ้นนี้ว่า ช้างมีความผูกพันกับคนไทยมาช้านาน โดยในตัวของช้างจะมีความหมายลึกซึ้งทางด้านสังคมและประเทศชาติ ด้วยเหตุนี้จึงเกิดความตั้งใจที่จะมอบของขวัญให้แก่ชาวกรุงเทพฯ โดยหวังให้ผลงานชิ้นนี้เป็นสัญลักษณ์ใหม่ของคนกรุงเทพฯ และแรงบันดาลใจให้แก่ศิลปินรุ่นใหม่ เพื่อผลิตงานที่มีคุณค่า และมีความสำคัญระดับโลกให้แก่ประเทศไทยต่อไป
hhh
ขณะที่ผู้สร้างสรรค์ผลงานอย่าง อาจารย์วิจิตร กล่าวถึงเหตุที่ใช้ช้างเป็นสื่อในการทำผลงานขึ้นมา เพราะมีนิสัยใสซื่อบริสุทธิ์ สามารถสื่อความหมายต่อผู้พบเห็นได้อย่างตรงไปตรงมา โดยตั้งใจให้ผู้ที่ได้ชมได้รับรู้เรื่องราวของช้างฝูงนี้ จะนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อลดปัญหาโลกร้อน
ggg
“อยากให้ทุกคนที่มาชมผลงานนี้ได้เห็นว่ามนุษย์คนหนึ่งสามารถใช้ประติมากรรมเพื่อเริ่มเคลื่อนไหวปัญหาทางด้านวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งจะเป็นการจุดประกายให้แก่องค์กรและประชาชนในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในสังคม เพราะทุกๆ คนต่างก็มีความสามารถของตัวเองในการที่จะเริ่มสร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติได้เหมือนกัน” อาจารย์วิจิตร กล่าว
gggg
นอกจากจะช่วยสร้างความสวยงามแล้ว ยังช่วยปลูกจิตสำนึกลดโลกร้อนอีก ถือได้ว่าคุ้มค่ากับเวลาที่งานชิ้นนี้จะตั้งอยู่คู่กับลานเซ็นทรัลเวิลด์ไปกว่า 30 ปีจริงๆ
kkk
ขอบคุณ นสพ. คมชัดลึก เรื่องจาก / ณุวภา ฉัตรวรฤทธิ์
siepteam thanks
gggg

07 มกราคม 2553

| issue 19 (Social Enterprise)


"Social Enterprise" มิติใหม่ธุรกิจเพื่อสังคม
ความเคลื่อนไหวเล็กๆ ในแวดวงสังคมธุรกิจไทย ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ราววงน้ำกระเพื่อมตั้งแต่ปีที่แล้ว นั่นคือความเคลื่อนไหวในแวดวง"ธุรกิจเพื่อสังคม" หรือ Social Business ที่กำลังก้าวไปอีกขั้น ในโลกยุค New Age Capitalism กลุ่มทุนที่ประสบความสำเร็จจะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืนที่เกื้อกูลต่อโลกและสังคม
ffff
วันนี้ โลกธุรกิจเปลี่ยนไปสู่แนวคิด Triple Bottom Line หรือ ESG (Environment Social and Governance) คงเป็นไปไม่ได้ที่ภาคธุรกิจจะเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจ (Good Corporate) มาเป็นงานกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) ที่มีเป้าหมายแก้ปัญหาสังคมโดยใช้โมเดลธุรกิจเป็นตัวตั้ง แต่ภาคธุรกิจสามารถปรับตัวเองให้เป็น Social Business หรือทำธุรกิจเพื่อสังคมได้ ผ่านการสร้างระบบตลาด สร้างมาตรฐานการผลิต ห่วงโซ่การผลิต ที่ตระหนักหรือเอื้อต่อโลกและผู้คน
gggg
อภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในฐานะรองประธานกรรมการ คณะกรรมการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคม กล่าวถึงความเป็นมาของกิจการเพื่อสังคมว่า ในระยะแรกธุรกิจจะเน้นการแสวงหากำไรสูงสุด เป็นหลักมีบางธุรกิจที่ CSR แต่ในระยะหลังได้มีองค์กรที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และความยั่งยืน หรือที่เรียกว่า กิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) ซึ่งเป็นวิวัฒนาการของความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) โดยตรง "ผมเห็นว่าประเทศไทยควรดำเนินการเรื่องนี้ด้วย เพราะจะเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส โดยไม่เน้นการสร้างเศรษฐกิจให้เติบโตเพียงอย่างเดียว แต่สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน และสร้างความสุขให้แก่ประเทศไทย ซึ่งขณะนี้ภาครัฐได้มีการสนับสนุนเรื่องดังกล่าว"
ffff
การจัดตั้งคณะกรรมการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เป็นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงระดับนโยบายของประเทศ โดยเป้าหมายหลักของคณะกรรมการชุดดังกล่าว ประกอบด้วย การส่งเสริมการสร้างการรับรู้และการเรียนรู้เกี่ยวกับกิจการเพื่อสังคม การส่งเสริมการพัฒนาขีดความสามารถของกิจการเพื่อสังคม เช่น มาตรการทางภาษี และกฎหมาย และการสร้างการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของกิจการเพื่อสังคม โดยภาพการขับเคลื่อนที่เป็นรูปธรรมในเชิงนโยบายภาครัฐน่าจะได้เห็นกันชัดๆ ในปี 2553
hhhh
ในขณะที่การขับเคลื่อนภาคประชาชนมีการขยายผลต่อเนื่อง เริ่มจากช่วงต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา 6 องค์กรระดับประเทศ ประกอบด้วย คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เครือข่าย TYPN บริติช เคานซิล หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ สถาบันเชนจ์ ฟิวชัน ภายใต้มูลนิธิบูรณะชนบทในพระบรมราชูปถัมภ์ และสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกันสร้างสรรค์ โครงการประกวดแผนธุรกิจกิจการเพื่อสังคม หรือ SEBP-Social Enterprise Business Plan Competition ขึ้น โดยจับกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าประกวดเป็นนิสิตนักศึกษาและคนรุ่นใหม่ที่มุ่งมั่นจะเป็นผู้ประกอบการสังคม
ffff
ชัยยุทธ์ ชำนาญเลิศกิจ กรรมการผู้อำนวยการ สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า กิจการเพื่อสังคมเป็นนวัตกรรมทางสังคมรูปแบบใหม่ ที่อาศัยทักษะทางธุรกิจผนวกเข้ากับเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาองค์รวมของสังคมอย่างยั่งยืน การสร้างการตระหนักรู้แนวคิดดีๆ แบบนี้ จะเป็นแรงผลักดันสร้างความเข้มแข็งของรากฐานทางสังคม สร้างภูมิคุ้มกันต่อการเผชิญการเปลี่ยนแปลงในวิกฤติสภาวะเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน
gggg
วีนัส อัศวสิทธิถาวร ผู้อำนวยการสำนักงานสื่อสารองค์กร SCG มาพร้อมกับสองรองประธานซีเอสอาร์ คลับ ได้แก่ พีรพงษ์ กลิ่นละออ ผู้อำนวยการสำนักงานสำนึกรักบ้านเกิด บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จํากัด (มหาชน) และดร.กันทิมา กุญชร ณ อยุธยา ผู้อํานวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท ทรู วิชั่นส์ จํากัด (มหาชน) ต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า งานกิจการเพื่อสังคมเป็นเรื่องของความเปลี่ยนแปลง หรือ Change ทำได้ไม่ง่ายนัก เหมาะมากที่เริ่มรณรงค์กับคนรุ่นใหม่ เพราะเป็นวัยที่มีความฝัน มีไฟ และยังไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขทางธุรกิจ แต่องค์ประกอบที่จะทำให้งานสำเร็จคือการสื่อสาร โดยเฉพาะการสื่อสารกับทำความเข้าใจกับชุมชนในช่วงแรกๆ ของการเริ่มต้นกิจการ
gggg
ไฮไลท์ของงานวันนั้นเป็นช่วงโชว์เคส "SE" ต้นแบบ โดย Social Entrepreneur ตัวจริง เสียงจริง ได้แก่ นาวี นาควัชระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เครือข่ายนวัตกรรมชาวบ้าน จำกัด ซึ่งทำเกษตรปราณีต ยุทธนา ไสยไทย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซูพรีม รีนิวเอเบิล เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด โรงไฟฟ้าชีวมวล พิมพรรณ ดิศกุล ณ อยุธยา ผู้จัดการส่วนศูนย์พัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ โครงการพัฒนาดอยตุง มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง และรัตติกร วุฒิกร กรรมการผู้จัดการ บริษัท คลับ ครีเอทีฟ จำกัด ผู้ออกแบบของเล่นเด็กพิการ
gggg
ถัดมา เป็นงาน Sustainable Solutions Inspired by Social Enterprise จัดโดยสถาบันเชนจ์ ฟิวชัน โรงแรมบันยันทรีและศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาแผ่นดินเชิงคุณธรรม วิทยากรวันนั้นประกอบด้วย คันธนิธิ์ สุคนธทรัพย์ รองประธานซีเอสอาร์คลับ ดร.มัชฌิมา กุญชร ณ อยุธยา ที่ปรึกษาสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม ขึ้นเวทีพร้อมกับผู้ประกอบการสังคม ได้แก่ เทพรัตน์ ตันติกัลยาภรณ์ บริษัท ชิวาลรี่บิช จำกัด ผู้ผลิตผ้าไหมส่งออก สุธาทิพย์ แสงวัฒนกุล บริษัท อุดมชัยฟาร์ม จำกัด ต้นตำนานไข่ไก่อารมณ์ดี และนาวี นาควัชระ ต้นตำรับเมนูนวัตกรรมแก้จนด้วยเกษตรปราณีต
kkkk
วรรคทองของงานเสวนา มาจากคนสองรุ่น โดยรุ่นใหญ่อย่าง ดร.มัชฌิมา เชื่อว่า กิจการเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise นั้นมีคุณลักษณะสอดคล้องกับสังคมที่มีความเจริญอย่างประเสริฐ หรือสังคมอารยวัฒิตามความหมายที่ปรากฏในพจนานุกรม ท่านป.อ.ปยุต ปยุตโต (For the Noble Growth Society By the Noble Growth Principle Of the Noble Peolple) จึงถือเป็น "ธุรกิจแห่งสังคมอารยวัฒิ"
kkkk
ส่วนรุ่นใหม่ นาวีทิ้งหมัดไว้ว่า ธุรกิจไม่ใช่สิ่งที่ผิด หากปฏิบัติต่อกันอย่างเป็นธรรม ไม่เอารัดเอาเปรียบ หรือผูกขาด แต่ธุรกิจเพื่อสังคมควรที่จะก่อให้เกิดเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า คือ ร่ำรวยได้บนพื้นฐานที่เข้มแข็ง มีอิสระในการอยู่ได้ อยู่ดีอย่างมีความสุขในสังคมท้องถิ่นของตนเอง ปัญหาสังคมในปัจจุบันไม่ใช่เวรกรรม หรือสิ่งถ่ายทอดทางพันธุกรรม แต่เป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนไปสู่สังคมที่ยั่งยืนและเป็นธรรม.
hhhh
การเปลี่ยนแปลงไปสู่ Social Enterprise วันนี้จึงกลายเป็นก้าวที่น่าจับตามองอย่างยิ่งในแวดวงธุรกิจยุคใหม่พวดเราชาว 'siepclub' ล่ะคิดไง....สวัสดี
jjj
ขอบคุณข้อมูลจากกรุงเทพธุรกิจ
siepclub thanks
lll

| issue 18 (ออร์แกนิกชาไทย)


ชาไทยสไตล์ออร์แกนิก
โดย : จุฑารัตน์ ทิพย์นำภา

ต่อให้ราคาข้าวพุ่งกระฉูดแค่ไหน แต่เชื่อไหมว่า ชาวบ้านทางภาคเหนือจำนวนหนึ่ง กลับหันมายืดอาชีพทำไร่ชาบนดอยสูงแทนการปลูกพืชเมืองหนาว สร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวอิ่มหนำสำราญอย่างยั่งยืน
hhh
เนิ่นนานมาแล้ว ชาวเหนือปักหลักอยู่บนยอดดอยทำไร่ชา เพราะเชื่อว่าเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกชามากที่สุด
สุวิรุฬห์ ชาไทย คิดในทางตรงกันข้าม แล้วลองหันมาปลูกชาในพื้นที่ราบเชิงเขา จนกระทั่งสำเร็จเป็นรายแรกของเมืองไทย ซึ่งนอกจากปลูกได้บนที่ราบสูงแล้ว ยังเป็นชาออร์แกนิกที่กระบวนการปลูกชาเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย
จารุวรรณ์ กาวี ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ห้างหุ้นส่วนจำกัด
สุวิรุฬห์ ชาไทย เล่าให้ฟังท่ามกลางลมหนาวว่า พูดถึงไร่ชา คนส่วนใหญ่มักนึกภาพไร่บนยอดดอยสูง แต่คุณพ่อของเธอมองต่างมุม ว่าการปลูกชาไม่จำเป็นต้องปลูกบนดอย เพราะชาวไต้หวันยังปลูกชาบนพื้นที่ราบ หรือแม้แต่ข้างถนนก็ยังมีให้เห็น
hhhh
“เราเริ่มต้นศึกษา เก็บข้อมูลการปลูกชาในไต้หวัน เปรียบเทียบกับพื้นที่ที่เรามี ทั้งระดับน้ำทะเล ลักษณะดิน สภาพอากาศ ปริมาณน้ำฝน ซึ่งไม่แตกต่างกัน กระทั่งตัดสินใจทดลองปลูกในพื้นที่จริง โดยปรับพื้นที่แปลงปลูกมะม่วงเดิม ซึ่งเก็บเกี่ยวได้ปีละครั้ง หันมาปลูกชาทดแทน” ลูกสาวชาวไร่ชาพื้นราบบอก เธอยอมรับว่า ช่วงเริ่มต้นนั้นการปลูกชาบนที่ราบไม่ใช่เรื่องง่าย ด้วยความที่ชาไม่ใช่พืชเศรษฐกิจของไทย ช่วงแรกถือเป็นการลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง เพราะยากจะขอความช่วยเหลือจากคนอื่น
hhh
แผนปลูกชาของครอบครัวกาวีไม่ได้เริ่มต้นจากศูนย์ พกวเขามีความรู้จากการปลูกชาบนดอยเป็นทุนเดิม แล้วนำมาปรับปรุงทดลองปลูกมาเรื่อยๆ ผ่านไป 4 ปีจึงเริ่มเห็นผล และกล้ายืนยันได้ว่าชาปลูกในพื้นที่ราบสูงได้ แถมยังให้ผลผลิตดีไม่แพ้ชาที่ปลูกจากยอดดอย
kkk
สุวิรุฬห์ ชาไทย ยังเป็นเจ้าแรกที่เริ่มปลูกชาออร์แกนิก และค่อนข้างมีประสบการณ์จากการทำชาออร์แกนิกมานาน จนกลายเป็น 'ไร่ชาต้นแบบ' ของจังหวัดเชียงราย “เราต้องยอมรับว่า โลกมันหมุน อนาคตยังไงก็ออร์แกนิก ถ้าเริ่มก่อนคนอื่น ก็ย่อมดีกว่า คุณพ่อเป็นคนชอบลองอยู่แล้ว จึงเริ่มต้นทำไร่ชาออร์แกนิกตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา” เธอกล่าว โชคดีที่พื้นที่เดิมปลูกพืชโดยไม่ใช้สารเคมีอยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องเตรียมพื้นที่มาก โดยเริ่มปลูกชาอู่หลงออร์แกนิกเป็นชนิดแรกตั้งแต่ปี 2531 พื้นราบ 5-10 ไร่ จากนั้นจึงค่อยขยายเป็น 200 ไร่ กำลังการผลิต 1,500-2,000 ตันต่อปีอย่างในปัจจุบัน
kkk
บริษัทสุวิรุฬห์ ชาไทย ปลูกชาอู่หลงด้วยกรรมวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากว่า 20 ปีแล้ว บำรุงเลี้ยงต้นชาด้วยปุ๋ยชีวภาพที่ผลิตเอง น้ำมาจากบ่อน้ำบาดาลที่ไม่ผ่านฟาร์มที่เป็นเคมี และตรวจสอบการปนเปื้อนทุกปี
อย่างไรก็ตามการทำชาออร์แกนิกไม่ใช่เรื่องง่าย เธอยอมรับ และต้องใช้เงินลงทุนสูง แค่ใช้ปุ๋ยชีวภาพก็ยากแล้ว เพราะสมุนไพรฆ่าแมลงไม่ได้มีแหล่งผลิตแน่นอน โดยทั่วไปใช้สารเคมีพ่นทุก 20 วัน ถ้าเป็นออร์แกนิก ต้องใช้คนดูแลทุกอาทิตย์ ต้นทุนเพิ่มขึ้นกว่าไร่ชาทั่วไปถึง 3 เท่า
sss
อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญมาก คือหากตัดสินใจทำชาออร์แกนิกแล้วจะไม่สามารถหันไปปลูกพืชหมุนเวียนชนิดอื่นได้เลย เพื่อให้พื้นที่มีความบริสุทธิ์ ปราศจากเคมีอย่างแท้จริง ประเด็นนี้ทำให้ชาวบ้านรอบข้างแม้จะเห็นผลสำเร็จยืนยันว่าการปลูกชาพื้นราบสามารถทำได้ แต่ส่วนใหญ่ยังไม่กล้าหันมาปลูก เพราะมองว่ามันไม่ใช่ความรู้ที่สอนกันมาแต่บรรพบุรุษ และต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตกันพอสมควร
ssss
ยิ่งต้นทุนที่ทุ่มลงไปมากกว่า แต่ไม่ได้การันตีว่าผลผลิตจะมากตามไปด้วย “เหตุผลเรายังคงปลูกชาออร์แกนิก แม้ว่าต้นทุนสูง เพราะเราไม่ได้ปลูกชาเพื่อทำเป็นธุรกิจ เราปลูกชาเพราะเราชอบที่จะดื่มชา ลูกหลานเราดื่ม ครอบครัวเราดื่ม แล้วเราจะหยิบยื่นเคมีให้พวกเขาดื่มหรือ” เธอให้มุมมอง เธอบอกว่า ตลาดชาทั่วโลกค่อนข้างใหญ่ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมชาชงบรรจุขวด ซึ่งต้องการวัตถุดิบค่อนข้างมาก รวมถึงร้านกาแฟ ที่ต้องการชาผงไปผสมในเครื่องดื่ม ไม่ว่าจะเป็นกรีนลาเต้ ชาเขียวปั่น ชาเขียวใส่นมที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบัน
ssss
“คุณพ่อเป็นคนที่มีความคิดก้าวหน้า คิดออกแบบโรงงานเอง หยิบนิดหยิบหน่อย ครั้งหนึ่งมีโอกาสไปสัมมนากับบริษัทญี่ปุ่น พูดกันถึงชาผง ขายได้กี่โลละ 4 หมื่นบาท ฟังกระบวนการสั้นๆ ก็หยิบเอามาต่อยอดเอง จนผลิตชาเขียวผง ขายสร้างรายได้เพิ่มอีกทางหนึ่ง”
ffff
ชาเป็นเครื่องดื่มที่มีอายุยาวนานกว่า 2,000 ปี แล้วยังเป็นที่นิยมไม่จืดจาง น่าประหลาดคนรุ่นใหม่กลับหันมาดื่มชามากขึ้น อย่างที่รู้กันว่าชามีประโยชน์ตั้งแต่ดื่มเข้าไปในปาก ลงไปในคอทำให้รู้สึกชุ่มคอ ไปที่เส้นเลือด ช่วยลดคอเรสเตอรอลในเลือด ลงไปที่กระเพาะ มีสารแอนติออกซิเดน ซึมสู่ลำไส้ ออกผิวหนัง ช่วยบำรุงผิว ถ้าเราเคี้ยวใบชายังได้โฟลิฟินอลดูแลสุขภาพฟันด้วย
ggg
“สมัยก่อนคนดื่มชาต้องเป็นอากง อาม๋า เป็นคนจีน แต่เดี๋ยวนี้ไม่ใช้แล้ว เด็กวัยรุ่นหันมาดื่มชา มีงานวิจัยพูดถึงประโยชน์ของชามากขึ้น ชากลายเป็น 'ตลาดเฉพาะ' ในหลายประเทศ แม้จะมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับกาแฟ ที่เดินไปทุกซอกทุกมุมก็เจอ แต่ก็เริ่มเห็นเยอะขึ้น”
ffff
สำหรับประเทศไทยมีไทยแลนด์ออร์แกนิก และกรมวิชาการเกษตร เป็นหน่วยงานตรวจรับรองและให้ตรารับรองสินค้าออร์แกนิก แม้กลุ่มผู้บริโภคชาหลักยังอยู่ที่ไต้หวัน ซึ่งไม่ได้สนใจเรื่องออร์แกนิกมากนัก แต่ก็เริ่มมีลูกค้าปลีกในกลุ่มยุโรป อเมริกา ที่ถามหาสินค้าออร์แกนิกเพิ่มขึ้น หลังจากบุกเบิกกรุยทางเป็นตัวอย่าง เริ่มมีชาวไร่สนใจปลูกชาบนพื้นที่ราบมากขึ้น
สุวิรุฬห์ ชาไทย ในฐานะไร่ชาต้นแบบ ยืนยันว่าพร้อมถ่ายทอดเทคนิค ปลูกชาออร์แกนิกหรือชาอินทรีย์ให้แบบไม่ปิดบัง
kkk
ขอบคุณข้อมูลจากกรุเทพธุรกิจ
siepclub thanks
ggg

05 มกราคม 2553

| issue 17 (แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรผสานงานศิลป์)



ฟาร์ม 'จิม ทอมป์สัน' เกษตรผสานงานศิลป์ โดย : รัชดา ธราภาค
hhh
ทอมป์สัน (Jim Tompson) ชื่อนี้เป็นที่รู้จัก ในฐานะแบรนด์ผ้าไหมไทย ซึ่งสร้างชื่อยังต่างแดน-->
ggg
ชาวไทยจำนวนไม่น้อย ยังตั้งตาคอยให้ถึงช่วงปลายปีที่ 'จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม'
อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา เปิดประตูต้อนรับนักท่องเที่ยวให้เข้าเยี่ยมชม และเลือกชมเลือกช้อปผลิตภัณฑ์เกษตรนานาชนิด รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมในสไตล์ Outlet ซึ่งกลายเป็นอีกกิจกรรมประจำปีที่น่าสนใจ นอกเหนือไปจากกิจการหลักด้านผ้าไหมของแบรนด์ดัง
hhhh
ในที่สุด ช่วงเวลาแห่งการรอคอยก็มาถึง โดยในปีนี้ 'จิม ทอมป์สัน ฟาร์มทัวร์' เปิดรับนักท่องเที่ยวตั้งแต่ วันที่ 19 ธันวาคม ที่ผ่านมา จนถึงวันที่ 10 มกราคม 2553
kkkk
ปีที่ผ่านๆ มา หลายคนอาจได้เห็นภาพฟาร์มกว้างที่ไม้นานาพันธุ์แข่งกันแตกใบเขียวสดสุดลูกหูลูกตา กับฟักทองลูกโตสีส้มจัด และทุ่งทานตะวันผืนใหญ่ได้รับการถ่ายทอดผ่านสื่อต่างๆ ปีนี้ จิม ทอมป์สัน ยังสร้างสรรค์กิจกรรมใหม่ๆ ด้วยการผนวกนิทรรศการศิลปะซึ่งจัดแสดงเป็นประจำที่หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน ถนนพระราม 1 มานำเสนอใน โปรเจค Jim Tompson Art Center on Farm ซึ่งถือเป็นรสชาติแปลกใหม่ที่คอศิลปะอาจไม่ค่อยคุ้นชิน หรือแม้แต่จะจินตนาการไปถึงฟาร์มปลอดสาร สู่สวนลอยฟ้า
hhhh
จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม ไม่ใช่สถานที่ใหม่ที่เพิ่งบุกเบิกหักร้าง แต่พื้นที่บริเวณเชิงเขาพญาปราบแห่งนี้ใช้เป็นแหล่งผลิตไข่ไหมเพื่อจำหน่ายให้สมาชิกเกษตรกร และเป็นพื้นที่ปลูกหม่อนซึ่งเป็นอาหารหลักของหนอนไหมให้กับโรงงานผ้าไหมทอมือของ จิม ทอมป์สัน มากว่า 20 ปี
hhhh
ในช่วงไม่เกิน 10 ปีมานี้ จิม ทอมป์สัน เริ่มเปิดฟาร์มให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรปีละครั้งในช่วงเดือนธันวาคม เพื่อนักท่องเที่ยวจะได้เรียนรู้ประสบการณ์ด้านเกษตรและวงจรชีวิตของหนอนไหม ชมแปลงพืชผักและดอกไม้นานาชนิด ก่อนเลือกซื้อไม้ดอกไม้ประดับและผลผลิตทางการเกษตรติดไม้ติดมือกลับบ้าน ฟาร์มทัวร์ของจิม ทอมป์สัน แบ่งโซนท่องเที่ยวเป็น 4 โซนหลัก ลำเลียงนักท่องเที่ยวไปตามจุดต่างๆ ด้วยรถรางนำเที่ยว
hhhh
โซนแรก ต้อนรับคนรักสุขภาพด้วย 'สวนลอยฟ้า' ไอเดียปลูกผักกินเองสำหรับคนเมือง กระถางมะเขือเทศในถังคว่ำที่ห้อยกับไม้ระแนง บังคับให้พืชผักสวนครัวต้องงอกทะลุดินจากด้านล่างก่อนจะเติบโตแบบย้อนศรสู่ทิศของแสงแดด วิธีการแบบนี้คุณ จริยา มีชื่น นักวิจัยประจำจิมฯ ฟาร์ม บอกว่าจะทำให้ต้นไม้ได้รับอาหารจากระบบน้ำหยดพร้อมสารอาหารแบบเต็มๆ ด้วยหลักแรงโน้มถ่วงของโลก ทำให้พืชผักงอกงามให้ผลผลิตสมบูรณ์ดี และเป็นวิธีที่เหมาะกับชาวคอนโด เพราะใช้เนื้อที่น้อย ไม่ต้องรดน้ำบ่อย แถมมีผักปลอดภัยไว้กินเองในครอบครัว
hhhhh
ในโซนเดียวกันนี้ ยังมีมะเขือเทศแปลงใหญ่ให้นักท่องเที่ยวได้ลงมือลงไม้เลือกเก็บมะเขือเทศหลายพันธุ์มาลองชิมกัน ซึ่งนักวิจัยประจำฟาร์มบอกว่าผลิตภัณฑ์เกษตรของที่นี่ต้องปลอดสารเคมีเท่านั้น เพราะปลูกในบริเวณใกล้เคียงกับไร่หม่อนที่ใช้เลี้ยงไหม โดยเจ้าหนอนไหมถือเป็นสัตว์บอบบางสุดๆ เจอสารเคมีนิดเดียวหงายหลังตึงขาดใจทันทีศิลปะร่วมสมัยประชันภูมิปัญญาอีสาน
jjj
ผ่านสู่โซนที่สอง จุดชมวิวลำสำลาย นักท่องเที่ยวขอเรียกชื่อเอาเองว่า 'อาณาจักรฟักทอง' เพราะนอกจากทุ่งทานตะวันและนา 'คอสมอส' ดอกโตๆ ไว้ให้ถ่ายรูปเล่นแล้ว ไฮไลต์ของจุดนี้ก็เห็นจะเป็นฟักทองหลากสายพันธุ์ที่มีไว้ให้เลือกชมเลือกซื้อกลับบ้าน และจุดนี้ที่ศิลปินอย่าง สุดสิริ ปุยอ๊อก เลือกสร้างสรรค์งานของเธอด้วยการแกะสลักผักและผลไม้
hhh
'สุดสิริ' เล่าถึงแนวคิดในการนำความรู้การแกะสลักผักเมื่อสมัยมัธยมมาสร้างศิลปะในฟาร์มครั้งนี้ว่า มาจากความสนใจเรื่องของ 'เวลา' ซึ่งธรรมชาติมีช่วงชีวิตที่ชัดเจน การได้ทำงานกับพืชผักทำให้ได้เรียนรู้จังหวะชีวิตของพวกมัน ในเวลาเดียวกันการแกะสลักซึ่งเป็นความงามที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นก็เป็นการขัดขวางกระบวนการตามธรรมชาติให้ต้องหยุดชะงักขาดตอนลงด้วยเช่นกัน
kkkk
โซนที่สาม ว่าด้วยเรื่องราวของศิลปวัฒนธรรมของ 'หมู่บ้านอีสาน' ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 โดยการรวบรวมบ้านเก่าในท้องถิ่นซึ่งนับวันแต่จะสูญหาย มาจัดสร้างและจัดแสดงเพื่อหวังสืบสานความรู้เชิง
hhh
สถาปัตยกรรมของพื้นถิ่น อันได้แก่ เฮือนโคราช เฮือนภูไท และเฮือนเครื่องผูก เรือนแต่ละแบบล้วนมีความแตกต่างที่สะท้อนทั้งภูมิปัญญาและเสน่ห์ซึ่งไม่ซ้ำกัน
hhhh
ปีที่แล้ว ทางฟาร์มสร้าง 'หมู่บ้านโคราช' เพิ่มขึ้นในบริเวณใกล้เคียงกัน เพื่อเป็นการขยายความเรื่องราวของสถาปัตยกรรมเฉพาะถิ่นให้ชัดเจนเห็นชัดยิ่งขึ้น โดยมี 'เฮือนโคราช' ที่นำมาจัดวางข้างเถียงนา โดยมีทุ่งข้าวสีเหลืองทองของฤดูนี้อยู่เคียงข้าง พร้อมกับ 'บุญหลาย' น้องควายอัธยาศัยดีคอยทำหน้าที่เสมือนประชาสัมพันธ์ให้การต้อนรับผู้มาเยือนด้วยท่าทีเป็นมิตร
hhhh
บริเวณเดียวกันนี้ยังเป็นพื้นที่ประชันผลงานของศิลปินพื้นบ้านกับศิลปินร่วมสมัย นักท่องเที่ยวสามารถเรียนรู้พูดคุยกับ 'พ่อใหญ่' ชาวอีสาน ที่มาสาธิตการจารใบลาน บรรเลงดนตรีพื้นบ้าน รวมทั้งการทำงานหัตถกรรมพื้นถิ่น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักสาน หรือการตีหม้อดินโดยครูภูมิปัญญาตัวจริงมาเอง
hhhh
ขณะที่ศิลปินร่วมสมัย จักรกริช และ ภัทรี ฉิมนอก จูงมือกันมาแสดงผลงานเท่ๆ ชื่อ 'เก้าอี้เทพเจ้าข้าวโพด' โดยการนำวัสดุเหลือใช้จากไร่นามาเติมไอเดียให้เป็นผลงานศิลปะแถมมีประโยชน์ใช้สอย คือการทำเก้าอี้นั่งและเตียงนอนจากซังข้าวโพด ในงานชุดเดียวกัน ยังประกอบด้วยการประดิษฐ์ควาย 'บุญหลาย' จำลองจากเศษไม้ไร้ค่าในฟาร์ม แถมเพื่อนควายไม้ให้เป็นเพื่อนน้องบุญหลายอีกหนึ่งตัว
kkk
ส่งท้ายกันแบบเทกระเป๋าที่ โซนสวนไม้ดอกเมืองหนาว และ ตลาดจิม ทอมป์สัน ที่มีไม้ดอกไม้ใบ รวมทั้งผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปและผ้าไหมให้เลือกช้อปในราคาหน้าโรงงาน ใครไม่ดื่มด่ำกับการจับจ่ายก็สามารถหันไปหาความรู้จากการชมกระบวนการผลิตผ้าไหม ที่นำมาสาธิตให้ดูกันแบบครบทุกขั้นตอน
hhh
สำหรับปีต่อๆ ไป จิม ทอมป์สัน กำลังจัดทำ 'มาสเตอร์แพลน' หวังขยายกิจกรรมด้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างเป็นกิจจะลักษณะ เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวให้ได้ตลอดทั้งปีจากที่เคยเปิดรับแค่ช่วงเดือนธันวาคมรับพืชผักฤดูหนาว กับเทศกาลสงกรานต์กลางเดือนเมษายน รวมทั้งตั้งเป้าว่าภายในไม่เกินปีหน้า นักท่องเที่ยวจะสามารถมากางเต็นท์พักสัมผัสธรรมชาติและสูดอากาศบริสุทธิ์กันในฟาร์ม
hhh
ถือเป็นอีกกิจกรรมท่องเที่ยวที่น่าสนใจสำหรับช่วงฤดูกาลนี้ รวมทั้งพัฒนาการระยะต่อๆ ไปของ 'จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม' ที่เป็นเรื่องต้องติดตาม
hhh
หมายเหตุ: จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม เปิดให้เข้าชมในเวลา 09.00-17.00 น. บัตรเข้างาน ผู้ใหญ่ราคา 60 บาท เด็กราคา 40 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร.(085) 660-7336, (044) 373-116 หรือคลิก jimthompsonfarm.com

ขอบคุณข้อมูลจากกรุงเทพธุรกิจ
siepteam thanks
uuu

| talk 9 (เยี่ยมชมเว็บไซต์อุทยานฯ)

siepteam ขอเชิญชวนเพื่อนพ้องน้องพี่ เข้าไปแวะเวียนเยี่ยมชม website ของอุทยานสิ่งแวดล้อมทนานาชาติสิรินธร ตาม www ข้างต้น นะจร้า...อย่าลืมล่า.... bye

04 มกราคม 2553

| people 16 (รักษ์โกลแบบมีสไตล์)



รัก(ษ์)โลก แบบมีสไตล์
โดย : จตุพร อุ่นใจ

หลังสำเร็จการศึกษาจากภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะศิลปกรรม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร แม้ 'ท็อป' พิพัฒน์ อภิรักษ์ธนากร-->

จะผันตัวมาทำงานในสายบันเทิงคือเป็นทั้งพิธีกรและนักแสดง แทนที่จะเป็นงานตามสาขาวิชาที่เล่าเรียนมา แต่เขาก็ยังฝันที่จะมีร้านเกี่ยวกับงานด้านออกแบบเป็นของตัวเอง


ยิ่งได้ไปเรียนต่อระดับปริญญาโทที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมี ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต นักออกแบบวัสดุธรรมดาๆ ให้ดูดีจนมีชื่อเสียงโด่งดัง มาเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ หัวข้อ 'แนวโน้มของผู้บริโภคเกี่ยวกับสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม' ท็อปจึงรับรู้ถึงความต้องการของผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งอีกด้านคือข้อมูลเรื่องขยะและวัสดุเหลือใช้ ที่แม้จะเพิ่มปริมาณสูงขึ้นทุกที หากสามารถนำมาเป็นวัตถุดิบสำหรับการดีไซน์เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่สวยงามตอบสนองความต้องการของตลาดยุคใหม่ได้อย่างลงตัว และยังเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า

และนี่จึงเป็นที่มาของร้าน 'ECO SHOP by Top-Pipat' ซึ่งเปิดตัวที่ชั้น 1 ดิจิตอลเกทเวย์ สยามสแควร์ เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่ใช่เป็นแค่ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์มีดีไซน์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่ยังหวังให้เป็นศูนย์กลางในการจัดแสดงสินค้า ที่นักออกแบบและผู้ผลิตสินค้าหัวใจรักษ์โลก นำวัสดุเหลือใช้และวัสดุที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม มาออกแบบในสไตล์ Reduce, Reuse และ Recycle เข้าร่วมโชว์ไอเดียและจำหน่ายในทำเลสุดทันสมัยใจกลางกรุง

“นอกจากผมเป็นพิธีกรแล้ว ผมยังเป็นนักออกแบบ และมีโอกาสได้ร่วมงานกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในโครงการเปลี่ยนขยะให้เป็นทอง ผมเลยได้เห็นว่ามีคนสนใจในเรื่องการรักษ์สิ่งแวดล้อมเยอะมาก เวทีการประกวดต่างๆ ก็เยอะ แต่คำถามที่ตามมา คือพอมีการประกวดเสร็จ สินค้าเหล่านั้นไปอยู่ที่ไหน ทั้งที่ได้รางวัลและไม่ได้รางวัล ไม่สามารถจะไปถึงมือผู้บริโภคได้ ผมจึงอยากได้สินค้าเหล่านั้น”
และสินค้าที่ว่านี้ก็จะมาปรากฏตัวในร้าน ECO SHOP by Top-Pipat ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเวทีในการจำหน่ายสินค้าที่ได้รับการออกแบบมาโดยคำนึงถึงเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก “สินค้าในร้านมีทั้งออกแบบเองบ้าง และนำเข้าจากต่างประเทศบ้าง เช่น ประเทศญี่ปุ่น ยุโรป นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้กับบุคคลทุกเพศ ทุกวัย นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ผู้ด้อยโอกาส ส่งผลงานแปลกๆ เข้ามาวางจำหน่ายทาง http://www.ecoshop.in.th/ โดยราคาจะอยู่ประมาณ 100-10,000 บาท”

เหตุผลของการเลือกสินค้ามาวางในร้าน 'ท็อป' บอกว่าอันดับแรก ต้องคำนึงถึงวัสดุเหลือใช้หรือที่ขยะเขาทิ้งแล้ว อันดับที่สอง ดูว่าดีไซน์น่าสนใจมากน้อยขนาดไหน และอันดับที่สาม ผลิตภัณฑ์เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ประเภท Reduce, Reuse, Recycle ทั้งหมดนี้ก็เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่ผู้ชื่นชอบงานดีไซน์เก๋ๆ และใส่ใจสิ่งแวดล้อมในขณะเดียวกัน
ในการออกแบบผลงานแต่ละชิ้นยังต้องให้ความสำคัญด้าน 'การขนส่ง' ด้วย เพราะถ้าสินค้าใหญ่เกินไปการขนส่งก็จะสิ้นเปลือง แต่ถ้าสินค้าตัวนั้นสามารถพับได้ก็จะเป็นการช่วยประหยัดและไม่สิ้นเปลืองพลังงาน ซึ่งถือว่าเป็นการช่วยสิ่งแวดล้อมทางอ้อมอีกด้วย
นอกจากนี้ ในส่วนของการขายทางร้านยังมีแนวคิดแบ่งปันโอกาส สำหรับผู้ที่มีปัญหาทางการได้ยิน เพื่อเป็นการช่วยเหลือสังคมไปพร้อมกัน
“ทางร้าน ECO SHOP ได้ให้โอกาสแก่น้องๆ ที่บกพร่องทางการได้ยิน เวลาเขาได้ยินเสียงน้อย ก็จะเปล่งเสียงได้ไม่เต็มคำ คือ ผมเห็นศักยภาพในตัวของพวกเขา และอยากจะร่วมงานด้วย ที่สำคัญเขาก็มีความอยากทำงาน และมีความสามารถไม่แพ้คนปกติ ดังนั้นนอกจากทางร้านผมจำหน่ายสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ผมยังจะพัฒนาเรื่องโอกาสกับบุคคลควบคู่ไปด้วย”
อุปสรรคในเรื่องการสื่อสารกับลูกค้า ทางร้านก็จะมีวิธีแก้ไขเบื้องต้นคือ การเขียนรายละเอียดของสินค้าวางไว้ข้างๆ ตัวสินค้า เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าใจได้ง่าย ทำให้สะดวกกันทั้งสองฝ่ายทั้งพนักงานและลูกค้า
อีกทั้งยังมีโครงการต่อไปรอจ่อคิว โดยจะเปิดโอกาสให้ผู้ด้อยโอกาสทางสังคมในด้านอื่นๆ อาทิ เด็กที่อยู่ในสถานพินิจ ผู้มีความบกพร่องทางสายตา ให้พัฒนาฝีมือเพื่อนำผลงานจากความคิดสร้างสรรค์ของพวกเขามาวางจำหน่ายที่ร้าน เพื่อเป็นการสร้างสรรค์สังคมที่ทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกันในการดูแลโลกใบนี้ต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจากกรุงเทพธุรกิจ
siepclub thanks

03 มกราคม 2553

| area 10 (สะพานไม้ชายเลน)

siepteam thanks

| people 15 (อิ่มสุข..สุขใจ)


คนทำความดี...หน้าตาเป็นงี้นี่เอง..
siepteam thanks